top of page
Stemcera Medical Group.jpg
ดร. นพ. กำพล ศรีวัฒนกุล STEMCERA_STEM CE

รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล

ประธานบริหาร (President) 

STEMCERA Medical Group 

STEMCERA ศูนย์สเต็มเซลล์เพื่อความอ่อนเยาว์

ก่อตั้งขึ้นในปี 2563

โดย รศ.ดร.นพ. กำพล ศรีวัฒนกุล 

"เราเชื่อว่า…

สเต็มเซลล์เป็นสุดยอดทางวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปสู่การปฏิวัติรูปแบบของเวชกรรม

งานวิจัยด้านสเต็มเซลล์ และเป็นเส้นทางสู่การพัฒนาการรักษาสำหรับความเสื่อมถอยของร่างกายจากโรคภัยต่าง ๆ

ซึ่งการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ถูกคิดค้นขึ้นในปัจจุบัน"

3 ทศวรรษ

รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล

เป็นนักเภสัชวิทยาที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และในปัจจุบันท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ

ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์

ภาควิชาเภสัชวิทยาของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำในด้านการแพทย์ของประเทศไทย

นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ปรึกษาขององค์กรอาหารและยา และเป็นสมาชิกของอนุกรรมการหลายชุด

ซึ่งแต่งตั้งโดยกระทรวงสาธารณสุข ยังเป็นนักวิชาการสมทบของศูนย์การพัฒนายาที่มหาวิทยาลัยทับธ์

เมืองบอสตัน

ค.ศ. 2018 ถึงปัจจุบัน

ตั้งแต่ค.ศ. 2018 เป็นต้นมา ดร.กำพล ได้รับเชิญจากนักวิจัยชาวญี่ปุ่น 

University of Tokyo, Chiba University และสถาบันการแพทย์หลายแห่ง

ในการช่วยศึกษาวิจัยถึงวิธีการนำเอาเทคโนโลยีภูมิคุ้มกันบำบัด

(Immuno Therapy) มาใช้ในการรักษามะเร็ง หลังจากนั้นท่านได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น

มาจัดตั้งห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงในการจัดเก็บ คัดแยก และเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ ได้แก่ NK Cells, Cytotoxic T Cells, Dendritic Vaccine, NKT Cells และ CAR-T Cells จึงทำให้ประเทศไทย

มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาได้โดยการแพทย์แบบแผนปัจจุบัน

ค.ศ. 2003-2018

ในปี ค.ศ. 2003 นักวิจัยชาวสหรัฐอเมริกา Dr.Sangrao Shi 

ได้ค้นพบเซลล์ต้นกำเนิดสเต็มเซลล์จากฟันน้ำนม และ ดร.กำพล

ด้ร่วมงานกับบริษัท Bioeden ซึ่งเป็นธนาคารจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากฟันน้ำนมแห่งแรกของโลก หลังจากนั้นได้รับการสนับสนุนจาก 

ดร.เพชรินทร์ ศรีวัฒนกุล อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา และพัฒนาต่อยอดจนกระทั่งสามารถนำเอาเซลล์ต้นกำเนิดที่เรียกว่า Mesenchymal Stem Cells (MSC)

ซึ่งมีคุณสมบัติโดดเด่น

โดยถูกต้องตามกฏหมายและจริยธรรม อีกทั้งยังสามารถเพาะเลี้ยง

เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องเทียบเซลล์เหมือนกับสเต็มเซลล์

ที่มาจากเม็ดโลหิต ผลการวิจัยและประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยเรื้อรัง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสเต็มเซลล์ชนิดนี้ที่ใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง อาทิเช่น โรคเกี่ยวกับสมอง หัวใจและหลอดเลือด ความเสื่อมของอวัยวะ โรคกระดูกและข้อ ฯลฯ

ค.ศ .1998-2003

ในปี ค.ศ. 1998 ได้มีการค้นพบสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน

ของมนุษย์ที่เรียกว่า Embryonic Stem Cell

โดยมีนักวิจัยชาวอเมริกันชื่อ Dr.James Thomas

เป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรก และในประเทศเกาหลีใต้ยังมี Dr.Hwang ที่นำเอาสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมาใช้ในการรักษาโรคเรื้อรังจนเป็นผลสำเร็จ ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องของเทคโนโลยีสเต็มเซลล์อย่างกว้างขวางไป

ทั่วโลก แต่เนื่องจากข้อโต้แย้งทางจริยธรรมทำให้การนำเอาเซลล์จากตัวอ่อนมาใช้รักษาโรคได้ถูกห้าม (BAN) ทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัย Embryonic Stem Cell Research

ได้สร้างข้อมูลพื้นฐานอย่างกว้างขวาง ทำให้นักวิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถนำมาใช้ประโยชน์

ในการรักษาโรคด้วยสเต็มเซลล์ชนิดต่าง ๆ

ที่ถูกกฏหมายและถูกจริยธรรมจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งโดยส่วนตัวของ ดร.กำพล นั้นได้เริ่มนำองค์ความรู้

นี้มาพัฒนาการรักษาโรคเลือดและโรคมะเร็งหลายชนิด โดยมุ่งเน้นกลุ่มสเต็มเซลล์ที่เรียกว่า Hematopoietic Stem Cells ได้แก่ สเต็มเซลล์จากไขกระดูก เม็ดโลหิต และ เลือดสายสะดือ

ค.ศ. 1990-1998

รศ.ดร.นพ. กำพล ศรีวัฒนกุล ได้เริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเซลล์บำบัด โดยเริ่มจากการที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และเยอรมนีได้นำเอาเทคโนโลยีซึ่งเรียกว่า Fresh Cell Therapy มาใช้ประโยชน์ในการชะลอวัยและรักษาโรคเรื้อรัง มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 โดย Dr.Paul Niehans

แพทย์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งได้พัฒนาวิธีการ

เอาสารสกัดจากเนื้อเยื่อของตัวอ่อนของแกะมาใช้ตามแนวทางเซลล์ซ่อมเซลล์ (Organo Therapy) และพบว่าผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงสำหรับการซ่อมแซมความเสื่อมของอวัยวะและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าที่เคยประเมินไว้ อย่างไรก็ดีการนำเอาเซลล์จากสัตว์มาใช้ยังคงเป็นแนวคิดที่การแพทย์ยังไม่ยอมรับอย่างเป็นแบบแผน และเนื่องจากกลไกการออกฤทธิ์นั้นเป็นผลมาจากสารสำคัญในเนื้อเยื่อของตัวอ่อนจากแกะ ได้แก่ Growth Factors และ Cytokines ที่ออกฤทธ์กระตุ้นเนื้อเยื่อของคนไข้ให้ได้รับการฟื้นฟูจากการบาดเจ็บ โดยระยะเวลาในการออกฤทธิ์ จะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องรับการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 

     รศ.ดร.นพ.กำพล ได้รับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี พ.ศ. 2515 ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต 

ในปี พ.ศ. 2517 และปริญญาเอกในสาขาเภสัชวิทยาในปี พ.ศ. 2521 จากมหาวิทยาลัยมหิดล เคยดำรงตำแหน่ง

นักวิจัยทางการแพทย์ และมีตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัย โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา และผู้อำนวยการโครงการบัณฑิตศึกษา สาขาพิษวิทยาจนถึง พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองคณบดี คณะบัณฑิตวิทยาลัย (พ.ศ. 2531-2532 และ พ.ศ. 2535-2538)

     นอกจากนี้ท่านยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ (พ.ศ. 2532-2533) และรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ (พ.ศ. 2533-2534) ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ด้านวิชาการท่านได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนายา โดยมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการหลายฉบับ และได้ทำการวิจัยในมหาวิทยาลัยที่ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง จนได้รับทุนจากบริติชเคาน์ซิลเพื่อฝึกอบรมในสาขาเภสัชวิทยาที่มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (พ.ศ. 2521-2522)และยังเป็นนักวิจัยสาขาเภสัชวิทยาคลินิกที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (พ.ศ. 2530-2531) และได้รับทุนวิจัยทางด้านมะเร็งที่โรงพยาบาลโรยัลมาร์สเดนท์ ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2531-2532) รวมถึงได้รับทุนจากสถาบันนานาชาติเมิร์ก เพื่อฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเภสัชวิทยาคลินิกที่มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2524-2525)

     ปัจจุบันท่านเป็นสมาชิกแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมเภสัชวิทยาและพิษวิทยาแห่งประเทศไทย

มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคอ้วน และภาวะอ้วนลงพุง ศาสตร์การแพทย์บูรณาการ

และการบำบัดรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด โดยทำการศึกษาวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากไขกระดูก เม็ดเลือด เลือดสายสะดือ เนื้อเยื่อไขมัน และฟันน้ำนม และได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากสถาบันชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวิสเซอร์แลนด์ ยูเครน รัสเซีย เกาหลี และจีน โดยมุ่งหวังที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำ

ในด้านศูนย์กลางการแพทย์แห่งเอเชียที่มีเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดเป็นเทคโนโลยีหลักเพื่อการรักษา บำบัด และฟื้นฟูร่างกายจากความเจ็บป่วยจากโรคภัยหรืออุบัติเหตุที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการแพทย์ทั่วไป พร้อมด้วยความตั้งใจที่อยากให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาได้กลับมาใช้ชีวิตเป็นปรกติเสมือนได้ย้อนวัยสู่ความเป็นหนุ่มสาวอีกครั้ง

© 2021 โดย Stemcera Medical Group

bottom of page