top of page

Our Medical Platform

STEMCERA R&D / LAB

ที่ STEMCERA การค้นคว้าวิจัยและต่อยอดเทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่มีวันสิ้นสุด 

 

จากการค้นพบเทคโนโลยี  Stem cell เมื่อปี 1960 เป็นครั้งแรกของโลก จนถึงปัจจุบัน Stem cell ได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก Stem cell ที่ได้จากแหล่งกำเนิดและการเพาะเลี้ยงที่ถูกต้องได้สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ให้วงการแพทย์อย่างมากมาย 

Banner slide2.jpg

Our Medical Technology

ต้องยอมรับครับว่าการพัฒนาวิจัยเรื่อง Stem cell ได้เดินทางมาไกลกว่าที่ใครๆเคยคาดคิดและเคยรับรู้และรับทราบมาก่อนโดยในปัจจุบัน ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ในฐานะเป็นผู้นำเรื่องการพัฒนา Stem cell ในประเทศไทยและได้ร่วมงานด้านวิจัย Stem cell เพื่อการรักษาโรคต่างๆเช่น โรคทางสมอง โรคมะเร็ง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง โรคที่เกิดจากความเสื่อม โรคกระดูกและข้อ จนรวมไปถึงโรคเรื้อรังอื่นๆอีกมากมายทั่วโลก ผลลัพธ์ที่ได้นับว่าเกินความคาดหมาย จนปัจจุบัน การทำเซลล์บำบัด (Cell Therapy) นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและในราคาที่ลดลงเป็นอันมาก 

 

    ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ RRC (Regenerative Rehabilitation Center) ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 6 โรงพยาบาลปิยะเวท โดยในปี 2022 ท่านได้วางหลักการในการรักษาด้วยประสพการณ์และงานวิจัยทั้งชีวิตเพื่อความสำเร็จสูงสุดในการรักษาผู้ป่วยไว้ดังนี้

 

Precision Diagnosis (การวินิจฉัยที่แม่นยำ)

  1. Genomics การถอดรหัสพันธุกรรมจาก DNA ด้วยการทำ Gene Diagnosis ของแต่ละบุคคลเพื่อประเมิณความเสี่ยงด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมถึงการทำ Gene Profiling, Liquid Biopsy ด้วย Marker ต่างๆกว่า 40 ชนิด ซึ่งมีความแม่นยำสูงในการตรวจมะเร็งชนิดต่างๆ และโรคเรื้อรังทุกชนิด อันยังส่งผลดีในการใช้ยามุ่งเป้า(Targeted drug therapy) ด้วยหลักการของ Pharmacogenetics ที่สามารถจ่ายยาให้เข้ากับ DNA ของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

  2. Epigenomics (เหนือพันธุกรรม) เพื่อตรวจหาความเสี่ยงของการเกิด Gene Mutation (การกลายพันธ์ของ Gene) ซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคมากถึง 95% การล่วงรู้ถึง gene mutation ของแต่ละบุคคลจะทำให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค (Risk Factor) อันจะนำไปสู่แนวทางการป้องกันเฉพาะบุคคล (Personalized Health care solution) รวมถึงการทำโปรแกรมการให้คำแนะนำหลังการรักษาด้วยระบบ Digital Health Care สำหรับคนไข้แต่ละท่านในอนาคต

  3. Proteomics (การเสริมสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการรักษาโรค) เช่น Growth Factor ที่มีคุณภาพสูงอย่าง Exosome,Numosome,Esciosome และ Spacific Growth Factor เพื่อร่างกายแต่ส่วนตามความจำเป็น รวมไปถึงการสร้าง Chaperone Protein Placenta Protein และ Immune Booster ชนิดต่างๆเช่น Specific cytokine เป็นต้น

  4. Metabolomics เป็นการวิเคราะห์คุณภาพการทำงานของ metabolites สารตั้งต้นของโมเลกุลขนาดเล็ก ตัวกลาง และระดับการเผาผลาญของเซลล์ที่ต่างกันของแต่ละบุคคล เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของระบบร่างกายให้กลับมาแข็งแรงได้อย่างแม่นยำ 

  5. Microbiomics การสร้าง Probiotic และ Prebiotic ที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล

 

Regenerative Medicine (เวชศาสตร์ฟื้นฟู)

ด้วยระบบการรักษาที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จึงสามารถทำให้เราสามารถทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำและตรงเป้าที่สุดด้วย Cell Based Therapy (การบำบัดด้วยเซลล์) การทำเซลล์บำบัดด้วยการนำเซลล์จากเลือดและไขมันของผู้ป่วย(Autologous) หรือฟันน้ำนมของบุตรหลานมาคัดแยก Stem cell เพื่อจัดเตรียม Peripheral blood stem cell (PBSC) และนำมาคัดแยกจนได้ Very small embryonic-like stem cells (VSELs) แล้วนำกลับมาฉีดเพื่อรักษาผู้ป่วย อีกทั้งยังสามารถสกัดเอาเซลล์เม็ดเลือดขาว (Immune cell) เพื่อนำมาเพาะเลี้ยงในส่วนของ Cytokine และ Interlukine อีกด้วย โดยในปัจจุบันได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Tokyo University เพื่อนำ NK Cell ที่สกัดได้มาพัฒนาเป็น NK-T Cell รวมถึง Car-T Cell เพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ แทนรังสีรักษาและเคมีบำบัด อันถือเป็นการรักษาด้วยวิธี Immunotherapy อย่างแท้จริง

 

เราได้ค้นพบแล้วว่า Stem Cell ที่มีคุณภาพไม่เพียงแต่รักษาโรคต่างๆได้เป็นอย่างดีและยังสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายและสังขารได้ในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการรักษาอย่างธรรมชาติซ่อมตนเองซึ่งโรคทางสมองอย่าง Autistic Spectrum Disorder, Cerebral Palsy, MS, ALS, Stroke และอื่นๆ โรคอย่างเส้นเลือดหัวใจ และเส้นเลือดสมองตีบก็ได้ผลดีเช่นกัน เพียงแต่ใช้ Stem cell อย่างถูกต้องและให้โดยแพทย์ที่มีประสบการณ์มากพอ

 

จากประสบการณ์เรายังค้นพบว่าการที่เราใช้ Stem Cell เพื่อทำ Gene Replacement Therapy ยังส่งผลดีต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ transpant) และการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย (Tissue engineering) อีกทั้งยังป้องกันการต่อต้านอวัยวะใหม่หลังการปลูกถ่ายอีกด้วย

 

ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ตั้งใจให้ ศูนย์ RRC ชั้น 6 โรงพยาบาลปิยะเวท เป็นต้นแบบของการรักษาแบบการแพทย์สหะสาขา (Multi disciplinary) อย่างแท้จริง โดยนำเอาการแพทย์โบราณผสมผสานการแพทย์สมัยใหม่เช่นการใช้สมุนไพรร่วมกับหุ่นยนต์ฟื้นฟูหลังจากการทำเซลล์บำบัด เพื่อความเป็นเลิศในการรักษาและประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย           ใน"ราคาที่ไม่ได้มากกว่าการรักษาด้วยการแพทย์แบบแผนทั่วไป"

Contact Dr.Kampol
 

bottom of page